วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การสำรองข้อมูลไดร์เวอร์ Backup driver ก่อนลงวินโดว์ใหม่


การสำรองข้อมูลไดร์เวอร์ Backup driver ก่อนลงวินโดว์ใหม่

การ backup driver เก็บไว้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่
ไม่มี แผ่น Driver อยู่ หรือแผ่นหาย ตอนลง windows ใหม่ถ้าไม่มี Driver อุปกรณ์ต่างๆก็จะไม่สามารถใช้ได้ในที่นี้ผมจะขอสอนการใช้งานโปรแกรม ที่ชื่อว่า Driver My Drivers Pro v3.22 

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Blue Screen Of Dead จอสีฟ้าตัวหนังสือสีขาว




(อันที่จริงน่าจะว่าจอสีน้ำเงินตัวหนังสือสีขาว)
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ XP คาดว่าคงจะมีหลายคนที่เคยได้พบเห็นหน้าจอของเครื่องขึ้นเป็นสีฟ้า ซึ่งหน้าจอที่ว่าจะปรากฏเมื่อเครื่องของคุณเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางครั้งการแก้ไขโดยการกดปุ่ม Esc หรือปุ่มใดๆ ก็สามารถกลับมายังการทำงานที่ยังค้างอยู่ได้ แต่หากอาการหนักหน่อย ก็คงต้องแก้โดยการรีสตาร์ทเครื่อง (ท่าไม้ตาย Ctrl+Alt+Del) สร้างความเบื่อหน่ายและเข็ดขยาดให้กับคนที่พบกับปัญหานี้

ทางไมโครซอฟท์ได้สร้างหน้าจอสีฟ้าที่เรียกว่า Blue Screen Of Dead (ขอเรียกสั้นๆ ว่า BSOD) เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา หากเราเสียเวลาทำความเข้าใจกับมันสักเล็กน้อย เพื่อสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้อีกได้



ส่วนประกอบภายใน Blue Screen Of Dead
ในหนึ่งหน้าจอของ BSOD จะมีการแบ่งรายละเอียดที่แสดงออกเป็น ส่วนด้วยกัน
ส่วนที่ 1
เป็นส่วนที่แสดงหมายเลขข้อผิดพลาดออกมาเป็นเลขฐาน 16 อยู่ที่ด้านบนสุด รองลงมาจะเป็นคำอธิบายเพื่อบอกให้เราทราบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น และท้ายสุดก็คือสาเหตุที่เกิดปัญหาโดยแสดงเป็นตัวอักษรที่เราอ่านออกได้ ในที่นี้ก็คือ ไดรเวอร์_IRQL_MOT_LESS_OR_ EQUAL
ส่วนที่ 2
ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ให้คำแนะนำสำหรับการแก้ไขปัญหา ซึ่งไม่ว่าปัญหาจะเกิดจากอะไรก็ตาม คุณก็จะเห็นรายละเอียดในส่วนที่สองนี้เหมือนกันทุกครั้งไป วิธีที่ถูกแนะนำให้เป็นการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ BSOD แจ้งให้คุณทราบ และเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การรีสตาร์ทเครื่อง
ส่วนที่ 3
หากไดรเวอร์ของฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องของคุณมีส่วนที่ทำให้เครื่องมีปัญหาก็จะถูกแสดงให้เห็นในส่วนนี้
ส่วนที่ 4
ส่วนสุดท้ายที่ปรากฏบน BSOD เป็นรายละเอียดของการที่ OS พยายามที่จะบันทึกรายละเอียดที่อยู่ภายใน Memory ขณะที่เกิดปัญหาไปเก็บไว้เป็นไฟล์ที่มีนามสกุล .TMP คุณจะพบเห็นไฟล์พวกนี้ได้ในโฟลเดอร์ WINDOWS
--------------------------------------------------------------------------------
สาเหตุที่ทำให้เกิด Blue Screen Of Dead
สาเหตุที่ทำให้เกิด BSOD ไล่จากเล็กน้อยจนถึงขั้นสาหัสได้ สาเหตุใหญ่ๆ
1. สาเหตุจากโปรแกรม (Software Errors)
โปรแกรมบางอย่างที่นำมาติดตั้งบน เครื่องอาจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะโปรแกรมจำพวก Spy ware, virusหรือไม่ก็โปรแกรมที่เป็น BETA TEST ที่ให้ ดาวน์โหลดฟรีทั้งหลาย นั่นแหละตัวดี
2. สาเหตุมาจากฮาร์ดแวร์ (Hardware Errors)
ฮาร์ดแวร์เป็นปัจจัยที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาได้ หากฮาร์ดแวร์ตัวนั้นไม่สามารถทำงานร่วมกับวินโดวส์ XP ได้อย่างสมบูรณ์
3. สาเหตุจากการติดตั้งโปรแกรม (In- stallation Errors)
หากกำลังติดตั้งโปรแกรม เพื่อใช้ดูหนัง แต่เกิดไฟดับก่อนที่จะติดตั้งเสร็จ แถมเครื่องคุณยังไม่ได้ติด UPS ซะด้วย ในการติดตั้งนั้นย่อมมีไฟล์ของโปรแกรมบางส่วนถูกก๊อปปี้ลงบนฮาร์ดดิสก์ของเราแล้ว ไฟล์เหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องของคุณเกิดปัญหาได้
4. สาเหตุจากการบูตเครื่อง (Startup Errors)
เมื่อกดปุ่ม power เพื่อเปิดเครื่อง ระบบจะมีลำดับขั้นตอนในการ Detect อุปกรณ์สามอย่างก่อนก็คือ การ์ดจอ จากนั้นก็มาที่ แรม แล้วก็ ฮาร์ดดิสก์ ตามลำดับ และโหลดไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ไปเก็บไว้ที่แรม หากขั้นตอนใดมีการผิด พลาด ก็จะทำให้เกิด BSOD ได้เช่นกัน
5. สาเหตุที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา (Intermittent Errors)
เป็นปัญหาที่ยากลำบากที่สุดในการแก้ไข เพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ได้ เช่น ความร้อนของซีพียู หรือปัญหาเกี่ยวกับแรม






วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet

 

วิธีเติมหมึก Laser HP Laserjet




วิธีการเติมหมึกคือ
1.  ถอดน็อตด้านข้าง ด้านที่มี chip ประมาณ 2 ตัวครับ
2.  หลังจากนั้นจะเห็นจุกสีขาวปิดช่องเติมหมึกอยู่ให้เอาจุกสีขาวออก
3.  เทหมึกของเก่าออกให้หมด แล้วเติมผงหมึกใหม่ลงไป
4.  เปลี่ยน chip ใหม่แล้วปิดฝาขันน็อตเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ถ้าจะให้ดีควรทำความสะอาดห้องเก็บหมึกเสียด้วยอยู่ด้านบนชุดดรัมขันน็อต 2 ตัวเหมือนกันครับ ลองดูนะ


เติมหมึกและรีเซ็ท Brother TN-210/150
Brother HL-3040/4040 HL-4040CN/ HL-4050CN/ DCP-9040CN/ MFC-9440CN/ MFC-9840CDW/ DCP- 9042CDN/ MFC-9450CDN/HL-3040CN / HL-3070CW / MFC-9010CN / MFC-9120CN / MFC-9320CN


1.ตลับหมึกสองรุ่นนี้ทั้ง  TN-210 และ 150 สามารถเปิดจุกเติมได้ โดยต้องเอาผงหมึกเก่าออกให้หมดก่อนเติมเพื่อให้ผงหมึกไม่ปนกัน

2. ขั้นตอนการรีเซ็ท (สำหรับตลับที่มีเฟืองรีเซ็ท) สามารถรีเซ็ทได้โดยปรับเลื่อนเฟืองที่ตลับหมึก
 
3.  ถอดฝาด้านข้างตลับหมึกออก จะเห็น Flag gear ที่มีสปริงติดอยู่
4. ปรับเลื่อนเฟืองและสปริงให้อยู่ตำแหน่งดังภาพ
***หากตลับที่ไม่มีเฟือง สามารถรีเซ็ทได้ที่ตัวเครื่องโดยทำขั้นตอน ดังนี้
1. เปิดฝาเครื่องด้านหน้าออก (เครื่องจะขึ้นว่า Cover open )
2. กดปุ่ม Cancel ค้างไว้
3. กดปุ่ม Reprint - จะมีข้อความขึ้นว่า Reset part life
4. ขั้นตอนต่อไปเลือกตลับ(สี) ที่จะรีเซ็ท
    B.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีดำ   ให้กดเครื่องหมาย  ^
       C.TNR-S  รีเซ็ทตลับสีฟ้า   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    M.TNR-S  รีเซ็ทตลับแดง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
    Y.TNR-S  รีเซ็ทตลับเหลือง   ให้กดเครื่องหมาย  ^
5. กดปุ่ม Cancel เพื่อออกจากเมนู
6. ปิดฝาหน้าเครื่อง

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งานบริการคอมพิวเตอร์

จากความหมายของคำว่า “มัลติมีเดีย” ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
ที่มีการติดตั้งระบบมัลติมีเดียเข้าไปด้วย เรียกกันโดยทั่วไปว่า “มัลติมีเดียพีซี” (Multimedia Personal
Computer: MPC) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้

เครื่องพีซี (Personal Computer : PC)

เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-Rom Drive)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
 

เครื่องพีซี (Personal Computer :PC)

เครื่องพีซีถือเป็นหัวใจของระบบงานด้านมัลติมีเดีย โดยไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ
ในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเครื่องที่ออกแบบมา
เพื่อใช้งานด้านมัลติมีเดียจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผลสัญญาณภาพ และเสียงดีกว่า
ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วๆ ไป เช่น ซีพียูตระกูล MMX ของ Intel เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีหน่วยความ
จำของเครื่อง (Ram) มากพอที่จะใช้เก็บไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ได้และติดตั้งแผงวงจรเร่งความาเร็วการ
ประมวลผลภาพกราฟฟิค (Graphic Accelerator Board) นอกจากนี้ ยังต้องมีโครงสร้างทาง
สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral Devices) ที่มีอัตราการสื่อสารข้อมูลที่
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงพอ ที่จะใช้จัดการเกี่ยวกับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น
โดยไม่เกิดอาการกระตุกและมีสล็อตขยายที่แผงวงจรหลักเพียงพอสำหรับการต่อขยายระบบหรือ
อุปกรณ์สำหรับต่อพ่วงในอนาคต รวมทั้งมีหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์หรืออุปกรณ์
ชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดความจุสูงและยังต้องมีจอภาพสีและแผงวงจรควบคุมการแสดงผลจอภาพที่สามารถ
แสดงภาพที่มีความละเอียดสูง
เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM Drive)

เครื่องอ่านซีดีรองนับว่าเป็ฯส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลและการนำเสนองานด้านมัลติมีเดีย
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องซีดีรอมก็คือ ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งอัตราการส่งถ่ายข้อมูลเพื่อ
อำนวยความสะดวกในการจัดการเกี่ยวกับภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวที่ต้อง
แสดงผลของแต่ละภาพอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ปรากฎอาการภาพสะดุดหรือกระตุกที่เกิดจากการที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ดึงข้อมูลภาพจากหน่วยจัดเก็บข้อมูลช้ากว่าการแสดงภาพ การเลือกใช้เครื่องอ่านซีดีรอม
จะพิจารณาจากจำนวนเท่าในการอ่านข้อมูล เช่น 52 เท่าหรือ 52x ซึ่งหมายถึงอัตราการส่งถ่ายข้อมูล
ทีได้จากการอ่านซีดีรอมนั่นเอง แผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วแต่ละแผ่นจะสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง
700 MB(โดยประมาณ) หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นานประมาณ 80 นาที แต่ถ้าเป็นแผ่นซีดีรอม
ขนาดเล็ก 8 ซม. จะสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 185 MB หรือบันทึกสัญญาณเสียงได้นาน
21 นาทีดั


ปัจจุบันได้มีการผลิตเครื่องอ่านซีดีรอม โดยใช้เทคโนโลยีดีวีดี (DVD ย่อมาจาก Digital Video Disc)
ทำให้แผ่นดีวีดีรอมแต่ละแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลแบบความจุสูง(high Density) ได้ถึง 9.4 GB
จุดเด่นของเครื่องอ่านดีวีดีรอมก็คือ สามารถอ่านข้อมูลจากทั้งแผ่นดีวีดีแผ่นซีดีปกติได้ ในขณะที่เครื่อง
อ่านซีดีรอมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีรอมได้ และพัฒนาการของเครื่องอ่านดีวีดีรอมยังคงมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องอ่านแบบคู่ที่มีศักยภาพรองรับการอ่านและการ
เขียนแผ่นซีดีและดีวีดีภายในเครื่องเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board)

ซาวนด์การ์ด (Sound Card หรือ Sound Board) หรือแผงวงจรเสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วน
หนึ่งของมัลติมีเดียพีวี มีหน้าที่หลักในการเก็บบันทึกเสียง และแสดงผลเสียงจากโปรแกรมสำหรับงาน
ด้านมัลติมีเดียโดยสามารถทำการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ เช่น ไมโครโฟน เครื่องดนตรี
หรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถ
เก็บไฟล์เสียงไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง โดยสัญญาณดิจิตอลจากไฟล์เสียงเหล่านี้จะส่งกลับไป
ยังซาวนด์การ์ด เพื่อแปลงสัญญาณให้เป็นแบบอนาล็อก ทำให้สามารถได้ยินเสียงจากไฟล์ที่ทำการนำ
เข้าหรือบันทึกนั้นได้ด้วยอุปกรณ์แสดงผลทางเสียง เช่น ลำโพง หูฟัง
 
ลำโพงภายนอก (External Speaker)

ลำโพงภายนอก (External Speaker) เป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้มัลติมีเดียคอมพิวเตอร์สามารถเล่น
เสียงระดับไฮไฟที่มีคุณภาพได้ นอกจากความสามารถในการจัดการด้านเสียงของซาวนด์การ์ดแล้ว
ปัจจุบันได้มีผู้ผลิตลำโพงภายนอกที่มีขีดความสามารถที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณภาพในหลาย
ระดับด้วยกัน เช่น ระดับธรรมดา ระดับคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยทั้งลำโพงเสียงแหลม ลำโพงเสียงกลาง
และลำโพงเสียงทุ้ม เป็นต้น คล้ายกับระบบเครื่องเสียงชั้นดีทั่วไป ลำโพงภายนอกจึงจัดว่าเป็น
ส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียพีซีเนื่องจากการถ่ายทอดเสียงที่ชัดเจนและต้องครอบ
คลุมย่านความถี่เสียงได้หลากหลาย จนกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบมัลติมีเดียในยุคปัจจุบัน
ที่ขาดไม่ได้


ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)


ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับจัดการด้านมัลติมีเดีย ภายใต้โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ที่ทำงานสัมพันธ์กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ประกอบ สามารถจำแนกซอฟต์แวร์ประยุกต์ตามลักษณะงาน
ได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Computer Assisted Instruction) เช่น Icon Author, Toolbook
และ Macromedia Authorware เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
โปรแกรมระบบสร้างสื่อการสอน 2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประเภทนำเสนองานมัลติมีเดีย (Application
Software for Multimedia Presentation) เช่น Macromedia Director MX, Shockwave และ
Macromedia Flash MX เป็นต้น


สำหรับองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนของมัลติมีเดียพีซีตามที่ได้มาข้างต้น นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบขั้น
พื้นฐานของมัลติมีเดียพีซีที่สนับสนุนการใช้งานด้านมัลติมีเดียทั่วไป หากต้องการพัฒนางานมัลติมีเดีย
เฉพาะทาง เช่น ทำวีดีโอจำเป็นต้องขยายขีดความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วง
พิเศษ เช่น ติดตั้งแผงวงจรจัดการเกี่ยวกับภาพเคลื่อนไหว (Video Capture Board) ติดตั้งเครื่อง
บันทึกและเล่นภาพวิดีโอ (Video Tape Recorder) เป็นต้น